วันอังคาร, 17 กันยายน 2567
✅ สามารถส่งข่าวแจก บทความประชาสัมพันธ์ ได้ที่อีเมล์ [email protected] ฟรี !
🎬ติดต่องานรีวิว Line : iNewch

ใครยุคที่คุณสร้างข้อมูลดิจิทัลปริมาณมหาศาลในทุก ๆ วัน ไม่ว่าจะเป็นรูปภาพหรือวิดีโอที่ถ่ายจากมือถือ ไฟล์เอกสารการบ้าน หรืองานที่บริษัท เพลง หนัง อีเมล หรือแม้กระทั่งฟุตเทจกล้องวงจรปิดที่บ้าน แต่ข้อมูลที่สำคัญเหล่านี้กลับถูกจัดเก็บอย่างกระจัดกระจายและไม่ได้รับการปกป้องอย่างถูกต้อง ทำให้เผชิญมีความเสี่ยงสูงที่ข้อมูลจะสูญหาย 

ปัจจุบัน ความสะดวกสบายในการเข้าถึงข้อมูลสำคัญเหล่านี้ อาจทำให้คุณตัดสินใจย้ายการจัดเก็บจากไดร์ฟภายนอก (External Hard Drive) ไปใช้บริการคลาวด์สาธารณะต่าง ๆ ทั้งของ Google, Dropbox, OneDrive หรืออื่น ๆ ที่มีแอปพลิเคชันรองรับบนทุก ๆ อุปกรณ์ แต่สิ่งที่คุณไม่คาดคิดคือข้อจำกัดของพื้นที่จัดเก็บข้อมูล ค่าบริการรายปีที่ต้องจ่ายมากขึ้น รวมถึงข้อจำกัดของบัญชีใช้งานร่วม ซึ่งยังไม่นับรวมถึงนโยบายการเปลี่ยนแปลงราคาของค่าบริการคลาวด์และความเสี่ยงของภัยคุกคามทางไซเบอร์ที่อาจเกิดขึ้นกับข้อมูลของคุณ ดังนั้น หากคุณเริ่มเบื่อกับปัญหาที่กล่าวมาข้างต้น คุณก็ไม่ควรพลาดแก็ตเจทประจำบ้านอย่าง NAS (Network-attached Storage) นี้!

NAS คืออะไร?

NAS เปรียบเสมือนคลาวด์ส่วนตัว เป็นกล่องเล็ก ๆ ที่มีช่องใส่ฮาร์ดไดร์ฟ โดยข้อมูลทั้งหมดของคุณ ทั้งรูปภาพ วิดีโอ เพลง หนัง ไฟล์เอกสาร ฟุตเทจกล้องวงจรปิด และอีกมากมาย จะถูกจัดเก็บในฮาร์ดไดร์ฟที่ติดตั้งซึ่งสามารถปรับขนาดพื้นที่จัดเก็บได้สูงตามต้องการ อุปกรณ์นี้มาพร้อมกับแอปพลิเคชันฟรีมากมายให้ผู้ใช้งานเหลือดาวน์โหลดติดตั้ง ตัวเครื่องทำงานเชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ตบ้านทำให้สามารถเข้าถึงข้อมูลที่จัดเก็บได้ทุกบนอุปกรณ์ต่าง ๆ ผ่านแอปพลิเคชันมือถือ เว็บเบราวเซอร์ หรือแม้กระทั่งสตรีมวิดีโอและรูปภาพบนทีวี เพียงเจ้าของ NAS เครื่องนั้น ๆ ตั้งค่าสิทธิ์ username และ password ส่วนตัวเฉพาะให้คุณเข้าใช้งานได้ ซึ่ง NAS แต่ละเครื่องสามารถรองรับจำนวนผู้ใช้งานพร้อมกันได้สูงเป็นหลักพัน นอกจากนี้ คุณยังสามารถแชร์ไฟล์บน NAS ของคุณให้กับบุคคลภายนอกด้วยลิงก์แชร์เสมือนคลาวด์สาธารณะ

การลงทุนกับ NAS เพียงครั้งเดียวนี้ ไม่เพียงความสะดวกสบายในการเข้าถึงทุกไฟล์ข้อมูลของคุณได้ในที่เดียวเท่านั้น แต่ยังรวมถึงสิทธิ์การเป็นเจ้าของข้อมูลทั้งหมดแบบ 100% อีกด้วย โดย NAS ของ Synology มาพร้อมกับระบบปฏิบัติการที่ช่วยให้คุณสามารถจัดการข้อมูลทั้งหมดได้อย่างง่ายดายและยืดหยุ่น คุณสามารถตั้งค่าสิทธิ์การเข้าถึงข้อมูลของแต่ละผู้ใช้งาน ปกป้องข้อมูลด้วยการสำรองข้อมูลทั้งแบบอัตโนมัติและแบบ Manual ด้วยเทคโนโลยีขจัดข้อมูลซับซ้อนที่ช่วยให้คุณประหยัดพื้นที่จัดเก็บ เรียกได้ว่า ‘NAS เป็นมากกว่าแค่ที่จัดเก็บข้อมูล แต่รวมทุกสิทธิ์การจัดการข้อมูล

ใครเหมาะกับอุปกรณ์จัดการข้อมูล NAS?

  1. คนที่จัดเก็บข้อมูลดิจิทัลเยอะ

ถ้าคุณเป็นอีกหนึ่งคนที่ต้องเสียค่าบริการรายปีสำหรับพื้นที่จัดเก็บบนบริการคลาวด์สาธารณะ คงจะประสบกับข้อจำกัดต่าง ๆ ของนโยบายของแพ็กเกจราคาตามขนาดจัดเก็บที่เพิ่มขึ้นเป็นขั้น ๆ และเป็นการจ่ายเงินในระยะยาวที่ไม่มีสิ้นสุด ยกตัวอย่าง พ็กเกจ Google One คุณต้องเสียค่าบริการ 990 บาทต่อปีสำหรับพื้นที่จัดเก็บ 200GB หากคุณต้องการจัดเก็บมากกว่า 200GB คุณจำเป็นต้องเลือกแผน 2TB ที่มีค่าบริการ 3,500 ต่อปี 

ในทางกลับกัน การลงทุนครั้งเดียวของคลาวด์ส่วนตัวอย่าง NAS ที่บ้านนั้น มีราคาตัวเครื่องรุ่นเริ่มต้น 2 เบย์อยู่ที่ประมาณ 5,000 บาท ซึ่งเมื่อรวมกับฮาร์ดไดร์ฟความจุ 2TB อีกประมาณ 2,500 บาทเพื่อเปรียบเทียบแล้ว การใช้งาน NAS เป็นระยะเวลา 2 ปีขึ้นไปก็ถือว่าคุ้มค่ากว่าบริการคลาวด์สาธารณะอยู่มาก โดยที่คุณสามารถปรับขนาดความจุฮาร์ดไดร์ฟได้ตามต้องการ อาจจะเริ่มต้นที่ 1TB และสูงไปจนถึง 16TB ต่อลูกได้อีกด้วย

สิ่งที่คุณควรพิจารณา คือ หากปริมาณข้อมูลที่คุณจัดเก็บต่ำกว่า 2TB หรือ 200GB การเช่าพื้นที่คลาวด์สาธารณะนั้นอาจคุ้มค่ามากกว่าการจัดเก็บข้อมูลใน NAS แต่ถ้าคุณโฟกัสเรื่องสิทธิความเป็นส่วนตัวและการควบคุมจัดการข้อมูล รวมถึงฟีเจอร์แอปพลิเคชันฟรีบน NAS อื่น ๆ อย่างการสตรีมวิดีโอ เพลง หรือการสร้างเว็บไซต์ตัวเอง NAS ก็อาจจะเป็นอีกแก็ตเจทประจำบ้านที่น่าสนใจ

หากคุณมีปริมาณข้อมูลน้อย การเสียค่าเช่าพื้นทีบริการคลาวด์อาจเหมาะกับคุณ แต่ถ้าไฟล์ที่คุณต้องการจัดเก็บและสำรองมีขนาดมากกว่า 200GB หรือ 2TB – 10TB แล้วนั้น คุณอาจพิจารณาลงทุนกับแก็ตเจทการจัดการข้อมูล NAS

หมายเหตุ: ราคาแพ็กเกจ Google One ในประเทศไทย พื้นที่เก็บข้อมูลที่จะได้รับต้องหักโควต้าพื้นที่ฟรี 15GB ออกก่อน เช่น ในแผนเริ่มต้นราคา 70 บาทต่อเดือนสำหรับพื้นที่ 100GB หมายถึง 15GB + 85GB รวมเป็น 100GB

  1. คนที่ต้องการช่วยจัดการไฟล์รูปภาพ/วิดีโอให้กับสมาชิกในบ้าน หรือไฟล์งานเอกสารต่าง ๆ 

จากที่กล่าวไปข้างต้น หากปริมาณการจัดเก็บข้อมูลของคุณเยอะ การลงทุนกับแก็ตเจทการจัดการข้อมูล NAS นั้นคุ้มค่ากว่าในระยะยาว เมื่อคุณพิจารณาปริมาณข้อมูลที่จัดเก็บนั้น คุณอาจต้องคำนึงถึงข้อมูลอื่น ๆ นอกจากรูปภาพส่วนตัวของคุุณร่วมด้วยอย่างพื้นที่จัดเก็บร่วมกับสมาชิกในครอบครัวหรือผู้ใช้งานคนอื่น ๆ เช่น คุณอาจต้องการช่วยพ่อหรือแม่ของคุณจัดเก็บและสำรองรูปภาพและวิดีโอจากมือถือที่ถ่ายในชีวิตประจำวันหรือทริปท่องเที่ยว ซึ่งหากนับรวมการจัดเก็บของสมาชิกหลาย ๆ คนแล้ว ก็ถือได้ว่าต้องการพื้นที่จัดเก็บที่มากทีเดียว

นอกจากนี้ ถ้าคุณทำงานเป็น Content Creator หรือมีไฟล์เอกสารสำคัญที่ต้องจัดเก็บและสำรอง การจัดเก็บกระจัดกระจายบนไดร์ฟภายนอกหรือบริการคลาวด์สาธารณะอาจทำให้คุณใช้งานและจัดการไฟล์ต่าง ๆ ได้อย่างไม่สะดวกนัก ซึ่งการมี NAS ที่เปรียบเหมือนพ่อบ้านดาต้าส่วนตัวที่ช่วยให้คุณจัดการทุกไฟล์ข้อมูลในที่เดียว 

และหากคุณกำลังเริ่มขยับการใช้งาน NAS ของคุณจากส่วนตัวเป็นการแชร์กับผู้ใช้งานหลายคน อย่างสมาชิกภายในบ้าน หรือทีมในออฟฟิศย่อม ๆ แล้ว Admin (ผู้มีสิทธิ์กำหนดตั้งค่าต่าง ๆ) ของ NAS เครื่องนั้น ๆ สามารถตั้งค่าการเข้าถึงข้อมูลของแต่ละผู้ใช้งาน เช่น สิทธิ์การเข้าถึง ดาวน์โหลด แก้ไข และอีกมากมาย ทำให้การจัดการไฟล์และทำงานเป็นทีมได้อย่างมีประสิทธิภาพ

แอปพลิเคชัน Synology Photos เครื่องมือจัดการรูปภาพ ดาวน์โหลดใช้งานได้ฟรีบนทุกอุปกรณ์ หน้าตาและการใช้งานคล้ายคลึงกับ Google Photos โดยพื้นที่ความจุจะขึ้นอยู่กับพื้นที่ว่างของ HDD ที่ติดตั้งบน Synology NAS ของคุณ

  1. คนที่กังวลเรื่องความปลอดภัยและความเป็นส่วนตัวของข้อมูล

การจัดเก็บข้อมูลต่าง ๆ บนคลาวด์สาธารณะเป็นการอนุญาตให้ผู้ให้บริการสามารถวิเคราะห์และจัดเก็บไฟล์และรูปภาพของคุณ แม้ว่าสิ่งนี้จะมาพร้อมกับความสะดวกสบาย และอาจทำให้คุณต้องเผชิญกับความเสี่่ยงในการรั่วไหลของข้อมูล อ้างอิงเนื้อหาข่าวจาก Entrepreneur India เมื่อคุณดาวน์โหลดข้อมูลของคุณจากอัลบั้มบน Google ผ่าน Google Takeout ข้อมูลของคุณจะถูกถ่ายโอนไปยังอัลบั้มของบุคคลที่สาม หมายความว่า ข้อมูลหรือวิดีโอของคุณอาจถูกดาวน์โหลดโดยคนอื่นได้ ซึ่งอัตราของภัยคุกคามทางไซเบอร์เหล่านี้มีเพิ่มสูงขึ้นทุกปี นั่นเป็นสาเหตุที่คุณต้องพิจารณาอย่างถี่ถ้วนเมื่อเลือกจัดเก็บข้อมูลบนบริการของบุคคลที่สามที่ไม่สามารถการันตีด้านความปลอดภัยของข้อมูลได้

ในทางกลับกัน อีกหนึ่งข้อได้เปรียบของคลาวด์ส่วนตัวอย่าง NAS คือ คุณมีสิทธิ์ความเป็นส่วนตัวและความเป็นเจ้าของข้อมูลของคุณ 100% ด้วยการจัดเก็บข้อมูลทั้งหมดของคุณในฮาร์ดไดร์ฟของ NAS ที่บ้าน และไม่ต้องกังวลเรื่องการวิเคราะห์และเรียนรู้เชิงลึกของรูปภาพจากบริการภายนอก เมื่อคุณต้องการแชร์ไฟล์รูปภาพหรือข้อมูลต่าง ๆ ในกับบุคคลอื่น ๆ คุณสามารถสร้างลิงก์แชร์พร้อมกับตั้งค่าการเข้าถึงได้อย่างปลอดภัย หากแต่สิทธิ์การจัดการข้อมูลของ NAS ที่ปลอดภัยนี้ มาพร้อมกับความรับผิดชอบของคุณในกำหนดค่าต่าง ๆ และรักษาความปลอดภัยของระบบที่คุณต้องพิจารณาเพิ่มเติม 

สิ่งที่ควรรู้ก่อนซื้อ NAS?

หากคุณพิจารณาแล้วว่า NAS เหมาะกับการใช้งานเพื่อจัดเก็บและสำรองข้อมูลของคุณ นี่คือสิ่งที่คุณต้องพิจารณาก่อนเลือกซื้อ NAS

  1. วัตถุประสงค์ในการใช้งาน

เช่น เพื่อจัดเก็บและสำรองรูปภาพ/วิดีโอของคุณและครอบครัว หรือเพื่อการใช้งานที่สูงขึ้นอย่างการสำรองข้อมูลพีซี เซิร์ฟเวอร์ หรือเครื่องเสมือน (Virtual Machine)

  1. ปริมาณข้อมูลที่ต้องการจัดเก็บ

คุณสามารถพิจารณาได้จากปริมาณข้อมูลที่จัดเก็บปัจจุบันทั้งบน Google Drive, iCloud, Dropbox หรือในไดร์ฟภายนอก หรือจำนวนรูปภาพ/วิดีโอที่คุณถ่ายในแต่ละเดือน เพื่อคำนวณปริมาณข้อมูลที่จะจัดเก็บสำหรับในอีก 2 – 3 ปีข้างหน้า ซึ่งการคำนวณนี้จะช่วยหลีกเลี่ยงการอัปเกรดขนาดความจุฮาร์ดไดร์ฟที่ถี่เกิดไปโดยไม่จำเป็น

  1. สเปคของฮาร์ดแวร์และแอปพลิเคชันที่ต้องการ

NAS แต่ละรุ่นถูกออกแบบมาเพื่อรองรับการความต้องการของผู้ใช้งานที่แตกต่างกัน ทำให้มีความแตกต่างด้านฮาร์ดแวร์และข้อจำกัดของแอปพลิเคชันที่รองรับ เช่น Synology รุ่น j-series ที่ออกแบบมาสำหรับผู้ใช้งานเริ่มต้นและขนาดเล็ก และรุ่น plus-series ที่มีประสิทธิภาพการทำงานที่สูงขึ้น

รุ่น NAS 2 เบย์ที่แนะนำสำหรับใช้ในบ้าน

Synology ผู้ผลิตและเชี่ยวชาญด้านการจัดเก็บข้อมูลลำดับต้น ๆ ของตลาด NAS ได้ออกรุ่นผลิตภัณฑ์ NAS 2 เบย์แบบ Dual-core ในกลุ่ม plus-series อย่าง Synology DiskStation DS220+ และ DS720+ เพื่อรองรับความต้องการและประสิทธิภาพที่ครอบคลุมมากขึ้นสำหรับผู้ใช้งานในบ้านหรือออฟฟิศขนาดย่อม ๆ แต่คุณอาจสงสัยว่าทำไมคุณถึงต้องยอมเสียเงินเพิ่มอีก 2,000 – 3,000 บาทให้กับรุ่น DS720+ และเพื่อเป็นตัวช่วยในการเลือกซื้อรุ่นที่เหมาะสมกับการใช้งาน คุณสามารถพิจารณาความแตกต่างได้ตาม Checklist ด้านล่างนี้

 Synology DiskStation DS220+ (ซ้ายมือ) และ Synology DiskStation DS720+ (ขวามือ)

  1. ปริมาณงานที่ต้องจัดการเยอะและขนาดใหญ่หรือไม่?

แม้ว่าทั้ง 2 รุ่นถูกออกแบบให้ทำงานด้วย CPU ประสิทธิภาพสูงอย่าง Intel Celeron J4000 แต่รุ่น Synology DS720+ นั้นมาพร้อมกับ CPU core ที่มากขึ้น 2 เท่า (จาก 2-core เป็น 4-core) เพื่อรองรับการทำงานที่มากขึ้นและใหญ่ขึ้น

  1. คุณมีความต้องการในการปรับขยายความจุพื้นที่จัดเก็บในอนาคตหรือไม่?

รุ่น Synology DS720+ นั้นมีเพิ่มพอร์ต eSATA ซึ่งพอร์ตนี้จะทำให้คุณสามารถปรับขยายการติดตั้งฮาร์ดไดร์ฟจาก 2 ลูกเป็น 7 ลูกได้ ด้วยการติดตั้งยูนิตเสริม Synology DX517 เพื่อเพิ่มเบย์ของไดร์ฟอีก 5 ช่อง 

  1. คุณต้องการประสิทธิภาพในการเข้าถึงข้อมูลที่เร็วขึ้นหรือไม่?

สเปคของรุ่น Synology DS720+ มีเบย์แยกสำหรับ M.2 NVMe SSD เพื่อรองรับทำ Cache ทำให้ NAS ทำงานในความหน่วงต่ำและ IOPS สูง ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานให้ผู้ใช้งานสามารถอ่าน/เขียนข้อมูลบน NAS ได้เร็วขึ้น

  1. คุณมีความต้องการในการใช้จัดเก็บและทำงานข้อมูล Virtualization หรือไม่?

หากคุณเป็นผู้ใช้งานระดับโปร แต่ต้องการทำงานข้อมูลเสมือน Virtualization อย่าง OpenStack, Citrix Ready, VMware vSphere หรือ Windows Server ซึ่งไม่รองรับในรุ่น Synology DS220+ คุณคงต้องเลือกใช้งานรุ่นที่สูงกว่าอย่าง Synology DS720+ 

  1. คุณต้องการระยะเวลาการรับประกันที่มากขึ้นหรือไม่?

หากคุณเป็นคนที่กังวลเรื่องระยะเวลาในการรับประกัน คุณอาจพิจารณาเลือกซื้อรุ่น Synology DS720+ ที่รับประกันฮาร์ดแวร์ 3 ปี ซึ่งสามารถซื้อขยายเพิ่มอีก 2 ปีเพื่อครอบคุลมสูงถึง 5 ปี ซึ่งการรับประกันฮาร์ดแวร์ของรุ่น Synology DS220+ คือ 2 ปี และไม่สามารถขยายเพิ่มได้

บทสรุป

อย่างไรก็ตาม ไม่มีทางเลือกการจัดเก็บใดที่สมบูรณ์แบบที่สุด ไม่ว่าคุณจะจัดเก็บข้อมูลบนคลาวด์สาธารณะ หรือคลาวด์ส่วนตัว หรือวิธีการอื่น ๆ มีเพียงวิธีที่ช่วยให้คุณลดความเสี่ยงได้มากที่สุด ซึ่งโดยทั่วไปในการสำรองรูปภาพและวิดีโอในบ้านและออฟฟิศขนาดย่อม ๆ นั้น รุ่น NAS แบบ 2 เบย์ (รองรับฮาร์ดไดร์ฟ 2 ลูก) พร้อมกับฮาร์ดไดร์ฟความจุ 2TB หรือ 4TB นั้นก็เรียกได้ว่าเพียงพอสำหรับการใช้งาน 2 – 3 ปีแล้ว

และถึงแม้ว่า Synology DS220+ นั้นจะเพียงพอสำหรับการใช้งานทั่วไปในบ้านและออฟฟิศขนาดย่อม และปุ่ม USB Copy ที่ช่วยให้สามารถคัดลอกข้อมูลจากไดร์ฟภายนอกได้อย่างง่ายดาย แต่หากคุณมี Budget หรือมีแพลนรองรับสำหรับความต้องการมากขึ้นในอนาคต ทั้งด้านการเข้าถึงข้อมูล ปริมาณผู้ใช้งาน แอปพลิเคชันที่รองรับ และสเปคของฮาร์ดแวร์แล้วนั้น คุณคงต้องพิจารณาเลือกซื้อ Synology DS720+ สำหรับการใช้งานในระยะยาว

ต้องการข้อมูลเพิ่มเติม?

ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ Synology NAS : https://sy.to/ii26v
สอบถามข้อมูลสินค้า Synology เพิ่มเติม : https://sy.to/1yiqf
แหล่งจัดจำหน่ายสินค้าในประเทศไทย : https://sy.to/tzwc9